วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Cooperative Learning




     Cooperative Learning  การเรียนรู้ด้วยการทำงานร่วมกัน เป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยกันสองคน หรือเป็นกลุ่มเล็กๆ ในการทำงานร่วมกันก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ด้วยวิธีการทำงานร่วมกันคือ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเองสูงสุด และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รวมทั้งให้ได้ประโยชน์ของกันและกันมากที่สุด

    รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรูปแบบร่วมมือของจอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson & Johnson, 1974 : 213 – 240  อ้างใน ทิศนา แขมมณี (2545, 2547, 2548, 2550, 2551) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันกันเพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของ การแพ้-ชนะ ต่างจากการร่วมมือกัน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจและสติปัญญา  



องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้ด้วยการงานร่วมกัน

     1.การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน ต้องมีทัศนคติที่ดีในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Positive Interdependence)  ผู้เรียนต้องมีความตระหนักว่าทุกคนต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คนใดคนหนึ่งไม่สามารถทำงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้คนเดียว ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยความร่วมมือ ความช่วยเหลือซึ่งกันละกันภายในกลุ่ม
     2.มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน (Face to Face Interaction)  ผู้เรียนต้องทำงานร่วมกันให้ประสบความสำเร็จร่วมกัน ฉะนั้นผู้เรียนควรมีการแบ่งปันข้อมูล การสนับสนุนช่วยเหลือกัน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และกระตุ้นการทำงานร่วมกัน ซึ่งการทำงานร่วมกันนี้ จะเป็นการพูดคุยถกเถียงการแก้ปัญหาร่วมกัน รวมทั้งเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นการตรวจสอบความเข้าใจ   การเรียนรู้ทั้งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
      3.การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน
      4.การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม (group processing) สมาชิกในกลุ่มต้องมีการอภิปรายถกเถียงกันถึงความสำเร็จของงาน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกันในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
      5.การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (Individual Accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกันนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้ว ยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก

     รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ  รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการคิด การแก้ปัญหาและอื่น ๆ

     รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการดำเนินการหลัก ๆ ซึ่งได้แก่ การจัดกลุ่ม การศึกษาเนื้อหาสาระ การทดสอบ การคิดคะแนน และระบบการให้รางวัล แตกต่างกันออกไปเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะแต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ต่างก็ใช้หลักการเดียวกันคือหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการและมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไป ในทิศทางเดียวกันคือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัย การร่วมมือกัน ช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูป จะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล เป็นประการสำคัญ

การเรียนแบบ Collaborative สามารถใช้ในการเรียน ดังต่อไปนี้
                1.   Group Process/Group Activity/Group Dynamics
                   1.1  เกม
                   1.2  บทบาทสมมุติ
                   1.3  กรณีตัวอย่าง
                   1.4  การอภิปรายกลุ่ม
                2.   Cooperative Learning
                    2.1  การเล่าเรื่องรอบวง (Round robin)
                    2.2  มุมสนทนา (Corners)
                    2.3  คู่ตรวจ สอบ (Pairs Check)
                    2.4  คู่คิด (Think-Pair Share)
                    2.5  ปริศนาความคิด (Jigsaw)
                    2.6  กลุ่มร่วมมือ (Co-op Co-op)
                    2.7  การร่วมมือกันแข่งขัน (The Games Tournament)
                    2.8  ร่วมกันคิด (Numbered Headed Together)

                3.   Constructivism
                    3.1  The Interaction Teaching Approach
                    3.2  The Generative Learning Model
                    3.3  The Constructivist Learning Model
                    3.4  Cooperative Learning

การเรียนรู้ด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม จำแนกลักษณะได้ดังนี้

บทบาทของผู้สอน
     1.ต้องวางแผนทักษะการทำงาน เพื่อถ่ายทอดการเรียนรู้
     2.สอนผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
     3.พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ
     4.ส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้อย่างแท้จริง
     5.อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสาสมารถประเมินตนเองได้
     6.กระตุ้นให้ผู้เรียนเรียนรู้
     7.ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกๆ คน
     8.สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนใช้ความคิดให้มากขึ้น
     9.ผู้สอนต้องสอนทักษะการเข้าสังคม
     10.มีความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างครูกับนักเรียน นักเรียนกับวัสดุฝึก นักเรียนกับนักเรียน

 การเรียนภายในกลุ่ม  มีลักษณะดังนี้
     1.มีทัศนคติที่ดีในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
     2.แต่ละคนมีความรับผิดชอบตนเอง
     3.ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน
     4.มีการสับเปลี่ยนการเป็นผู้นำ
     5.มีความรับผิดชอบร่วมกัน
     6.มีการอภิปรายและประเมินผลงาน และการมีปฏิสัมพันธ์กัน
     7.การแบ่งกลุ่มมีหลายลักษณะ อาจแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 2-6 คน การแบ่งกลุ่มไม่ควรใช้เวลามาก ควรแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ
     8.ครูผู้สอนควรแบ่งกลุ่มที่ผู้เรียนสามารถทำงานด้วยกันได้ ไม่ควรให้ผู้เรียนเลือกกันเอง
     9.ควรคละผู้เรียนที่มีความสามารถสูง ปานกลางและต่ำให้อยู่ภายในกลุ่มเดียวกันให้ได้มากที่สุด

เงื่อนไขในการสอน
     1.ควรสอนกิจกรรมที่เหมาะสมการเรียนรู้ให้มากที่สุด
     2.ห้องเรียนควรจัดให้เหมาะสมและส่งเสริมผู้เรียนกลุ่มเล็กในการทำงานร่วมกันได้ และครูผู้สอนสามารถเดินไปมาหาสู่ผู้เรียนได้โดยสะดวก
     3.วัสดุอุปกรณ์การเรียนควรจัดให้ตรงตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการสอน
     4.การสอนวิชาการควรให้รายละเอียดมากที่สุด
     5.การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ควรสอบถามผู้เรียนแต่ละกลุ่มตกลงร่วมกันว่า จะให้แต่ละคนช่วยกันทำอะไรบ้าง
     6.สื่อวัสดุอุปกรณ์การเรียน ข้อมูลต่างๆ และการอาศัยซึ่งกันและกัน ควรผลิต/จัดหาให้เหมาะสม
     7.ผู้สอนควรมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
     8.ผู้เรียนทุกคนควรช่วยเหลือ และช่วยกันทำงานตามที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
     9.ผู้สอนควรขับเคลื่อนการเรียนรู้จากการทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้ความร่วมมือกับผู้เรียนอย่างแท้จริง
     10.การวัดผลประเมินผลควรตั้งเกณฑ์การวัดไว้ก่อนเริ่มการเรียนการสอน

Blended Learning



                                                                                       Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน

Image      เบล็นเด็ด เลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
      การ สอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน
      "Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้น เรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"
การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)


   การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ
     - รวม รูปแบบการเรียนการสอน
     - รวม วิธีการเรียนการสอน
     - รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่ อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียน แบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการ เติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย

ข้อดี-ข้อเสีย

การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ
    1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
    2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
    3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ
       3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน
       3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าใน อนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียน แบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย
สรุป

    1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะ ด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน

    2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
       2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
       2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
       2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
        1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
           1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
           1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
           1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป

        2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุ การเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
          2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
            - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
            - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
            - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
         2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
            - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
            - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
            - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
            - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
         2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
            - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
            - การพัฒนากรณีต่าง ๆ
            - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน

      3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
        3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
        3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
        3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง

ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน

การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
     1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
     2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
     3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียน รู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
     4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้ เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
     5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
     6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน
กรณี - การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน
- คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน

3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อเสีย

ประโยชน์ ข้อดี
     1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
   10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสีย
   1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
   2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
   3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
   4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
   5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
   6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
   7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
   8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
   9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
  10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
  11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)

ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
   1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้
   2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning
   3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน
   4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Game Online

       
        Game Online เกมออนไลน์ เป็นข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งถูกสร้างมาเพื่อให้เล่นคลายเครียด และ เพลิดเพลินยามว่าง โดยเล่นทางคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยใช้เซอร์เวอร์เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้เล่นด้วยกัน เกมออนไลน์จึงมีลักษณะที่ต่างจากเกมชนิดอื่นก็คือ มีสังคมอยู่ในนั้นไม่ว่าจะเป็นการแชทคุยกัน ขายของ ให้ของ จับกลุ่มปาร์ตี้ทำกิจกรรมร่วมกันในเกม ฯลฯ จึงทำให้ผู้เล่นเกมออนไลน์รู้สึกมีปฏิสัมพันธ์กับตัวเกมได้มากยิ่งขึ้นกว่าเกมออฟไลน์

Edutainment

        

         Edutainment เกิดจากการสนธิคำศัพท์ 2 คำด้วยกัน คือ คำว่า Education สาระ ความรู้ กับคำว่า Entertainment ความบันเทิง เกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ว่า Edutainment ซึ่งมีความหมายว่าการได้รับสาระความรู้ด้วยรูปแบบความบันเทิง เพราะการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 สื่อในกลุ่มของ Edutainment แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

          1.สื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วีซีดี ดีวีดี หรืออินเตอร์เน็ต
          2.สื่อประเภทอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น เกมเพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ
          3.สื่อประเภทสิ่งพิมพ์ เช่น นิทาน ฯลฯ

ที่มา : http://women.kapook.com/view17604.html

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

E-Learning / Learning Management System / M-Learning


         E-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

       Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่างๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ


       M-Learning (mobile learning) คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยไม่ต้องเชื่อมต่อโดยใช้สายสัญญาณ ผู้เรียนและผู้สอนใช้เครื่องมือสำคัญ คือ อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้โดยสะดวกและสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณแบบเวลาจริง ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, Tablet PC, Cell Phones ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน



ที่มา : http://www.netthailand.com

สารานุกรมออนไลน์


Wikipedia  คืออะไร วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมออนไลน์
        Wikipedia  คือ  สารานุกรมออนไลน์ ซึงมีหลายภาษา สามารถเข้าไปอ่านได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องสมัครสมาชิกใดๆ อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขรวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครทั่วโลก ผ่านซอฟต์แวร์ ชื่อ มีเดียวิก ในปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมดมากกว่า 250 ภาษา สารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไขรวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม ดังนั้นข้อมูลใน Wikipedia จึงค่อนข้างมีความน่าเชื่อถือสูงและการที่ Wikipedia เป็นเสรีสารานุกรม ที่ทุกคนสามารถเข้ารไปแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้นี้เอง จึงทำให้มีผู้ประสงค์ร้ายใส่ข้อมูลเข้าไปผิดๆ แม้ส่วนใหญ่บุคคลเหล่านั้นจะถูกจับได้แล้ว แต่ท่านทั้งหลายก็ควรระวัง และอ่านข้อมูลจาก Wikipedia อย่างมีวิจารณญาณ ไม่หลงเชื่อข้อมูลที่ผิดจากบุคคลเหล่านั้น
         ปัจจุบันมีหลาย ๆ เว็บที่นำ wiki มาเป็น Engine นำ Content ขึ้นแสดงแทนที่จะใช้โปรแกรม CMS เพราะลูกเล่นในการเชื่อมโยงเนื้อหา ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ดีกว่า CMS ทั่ว ๆ ไป และการใช้งานยังง่าย (ถ้าเข้าใจวิธีใช้แล้ว) เพราะเจ้าของเว็บสามารถแก้ไขข้อมูลจากหน้าเว็บได้เลย

ข้อดี
1.เนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้
2.เปิดเสรีที่ให้ทุกคนเขียน แก้ไขข้อมูล โดยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
3.เผยแพร่สืบต่อกันได้อย่างเสรี
4.นโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม

ข้อเสีย
1.การนำไปใช้อ้างอิงในเอกสารทางวิชาการยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่-วิกิพีเดียมีความถูกต้องมากน้อยแค่ไหน
2.ไม่สามารถป้องกันผู้ประสงค์ร้ายเข้าไปทำลายข้อมูลหรือสิ่งดีๆ
3.ไม่มีระบบตรวจสอบความถูกต้อง

ที่มา : www.cdn.learners.in.th

Webboard / Internet forum



        WebBoard คือเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยใช้รูปแบบการแสดงผล HTML ที่นิยมใช้ใน World Wide Web (WWW ) ซึ่ง WebBoard อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมเวปไซต์ และผู้พัฒนาเวปไซต์สามารถตั้งหัวข้อกระทู้ เพื่อประกาศข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ โดยทั่วไปมักเรียกเว็บบอร์ดว่า บอร์ด  หรือ กระดานข่าวสาร กระดานข่าวสารนั้นยังมีชื่อเรียกอื่นอีกมากมาย อาทิเช่น กระดานสนทนาออนไลน์,เว็บบอร์ด,เว็บฟอรัม,ฟอรัม,เมสเซจบอร์ด,บุลเลตอินบอร์ด,ดิสคัชชันบอร์ด ตัวอย่างในเว็บบอร์ดไทยได้แก่ พันทิป, เอ็มไทย เป็นต้น

        Internet Forum คือบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง(virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่มมีหลายชื่อเรียก เช่น web forums, message boards, discussion boards, discussion forums, discussion groups, bulletin boards เป็นต้น

Web search engine


        

       Web Search Engine   คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการที่สุดเอามาใช้งาน  โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
        ตัวอย่าง Web Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น

File Transfer Protocol: FTP

        
        FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol คือ โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างการถ่ายโอนไฟล์ระหว่าง ไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย เรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งทำให้การถ่ายโอนไฟล์ง่ายและปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนไฟล์ผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้ FTP ที่พบบ่อยสุด ก็เช่น การดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต ความสามารถในการถ่ายโอนไฟล์ ทำให้ FTP เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนที่สร้างเว็บเพจ ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน และโปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Filezilla,CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น

         FTP แบ่งเป็น 2 ส่วน
                 1. FTP server เป็นโปรแกรมที่ถูกติดตั้งไว้ที่เครื่องเซิฟเวอร์ ทำหน้าที่ให้บริการ FTP หากมีการเชื่อมต่อจากไคลแอนเข้าไป
                 2. FTP client เป็นโปรแกรม FTP ที่ถูกติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของ user ทั่วๆไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อไปยัง FTP server และทำการอัพโหลด ,ดาวน์โหลดไฟล์ หรือ จะสั่งแก้ไขชื่อไฟล์, ลบไฟล์ และเคลื่อนย้ายไฟล์ก็ได้เช่นกัน

E-mail

    คำว่า E-mail เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ย่อมาจาก Electronic Mail ในภาษาไทยบางครั้งเรียกว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บางครั้งก็เรียกว่าไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในพจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถานใช้คำว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

    E-mail คือ วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่ แทนจดหมายบนกระดาษ แต่ใช้วิธีการส่งข้อความในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง


  จุดเด่นที่ทำให้อีเมล์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับการส่งจดหมายด้วยกระดาษหรือไปรษณีย์ธรรมดา ๆ แล้ว การส่งอีเมล์ดูเหมือนจะยุ่งยากและมีวิธีการใช้สลับซับซ้อนกว่า แต่หากพิจารณาดูแล้วจะพบว่าอีเมล์ไม่ได้ยุ่งยากแต่ประการใด โดยเฉพาะในปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้รับส่งอีเมล์ได้รับการพัฒนาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกไม่ซับซ้อนและที่สำคัญ อีเมล์มีจุดเด่นกว่าไปรษณีย์ธรรมดาหลายประการคือ ความรวดเร็ว ความประหยัด ไม่จำกัดระยะทาง

             ระบบการทำงานของอีเมล์เป็นการส่งข้อความ (Message) อิเล็กทรอนิกส์จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่ส่งไปมีทั้งตัวหนังสือ รูปภาพ เสียงและภาพวิดีโอ โดยส่งผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) ผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต เมื่อข้อมูลไปถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ปลายทางจะถูกเก็บไว้ในเมล์บ็อกซ์ (Mail Box) รอให้ผู้รับมารับไป การเดินทางเช่นนี้ทำให้อีเมล์เดินทางรอบโลกได้อย่างรวดเร็ว

             กระบวนการของอีเมล์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ การส่งอีเมล์ การเดินทางไปยังเซิร์ฟเวอร์ และ ผู้รับปลายทาง

E-commerce

      E-commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

Internet / Intranet

     

     Internet หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

      Intranet หมายถึง  ระบบเครือข่ายภายในองค์กรเป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกับอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง แต่ในช่วงที่ชื่อนี้ยังไม่เป็นที่นิยม ระบบอินทราเน็ต ถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น Campus network, Local internet, Enterprise network เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายและอธิบาย Hardware, Software และ Peopleware

     

      ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนประกอบ โครงสร้าง รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สนับสนุนการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มนุษย์สามารถมองเห็นและสัมผัสได้  หน้าที่ของฮาร์ดแวร์ก็คือ  ทำงานตามคำสั่งควบคุมการทำงานต่างๆ  ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ  แบ่งออกเป็นส่วนประกอบดังนี้

          1. หน่วยรับข้อมูล (Input unit) เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ คือ แป้นพิมพ์ ( Keyboard ) และเมาส์ ( Mouse)  นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์รับเข้าอื่น ๆ อีก ได้แก่ สแกนเนอร์ ( Scanner), วีดีโอคาเมรา (Video Camera), ไมโครโฟน (Microphone), ทัชสกรีน (Touch screen), แทร็คบอล (Trackball), ดิจิตเซอร์ เทเบิ้ล แอนด์ ครอสแชร์ (Digiter tablet and crosshair)

          2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือเรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า CPU ซึ่งถือว่าเป็นสมองของระบบคอมพิวเตอร์ มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม หน่วยคำนวณ
               - หน่วยควบคุม (Control Unit หรือ CU) ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล หน่วยคำนวณและหน่วยตรรก หน่วยความจำและแปลคำสั่ง
               - หน่วยคำนวณและตรรก (Arithmetic and Logic Unit หรือ ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณหาตัวเลข เช่น การบวก ลบ การเปรียบเทียบ
               - หน่วยความจำ เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล

          3. หน่วยความจำภายใน (Primary Storage Section หรือ Memory) เป็นหน่วยความจำที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้โดยตรง มี 2 ประเภท
               3.1 หน่วยความจำภายใน
                     - หน่วยความจำแบบแรม (Random Access Memory หรือ Ram) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ที่ใช้สำหรับเก็บโปรแกรมที่กำลังใช้งานอยู่ขณะนั้น มีความจุของหน่วยเก็บข้อมูลไม่เกิน 640 KB คือผู้ใช้สามารถเขียนหรือลบไปได้ตลอดเวลา ถ้าหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฟฟ้าดับ จะมีผลทำให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้สูญหายไปหมด และไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
                     - หน่วยความจำแบบรอม (Read Only Memory หรือ Rom) เป็นหน่วยความจำถาวร ที่สามารถอ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ ข้อมูลที่เก็บไว้จะยังคงอยู่
                3.2 หน่วยความจำสำรอง ได้แก่ เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์ (Diskett) CD-ROM
แผ่นดิสก์หรือสเกต เป็นจานแม่เหล็กขนาดเล็ก ชนิดอ่อน จัดเก็บข้อมูลโดยใช้อำนาจแม่เหล็ก การใช้งานจะต้องมี Disk Drive เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ โดยแบ่งตำแหน่งพื้นผิวออกเป็น แทร็คและเซ็คเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ
                      - แผ่นดิสก์ขนาด 8 นิ้ว ปัจจุบันไม่นิยมใช้
                      - แผ่นดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามรถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 360 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.2 MB
                      - แผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว แบ่งออกเป็น DD สามารถบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 720 KB และ HD สามารถบันทึกข้อมูลได้ 1.44 MB นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

          4. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)



    ซอฟแวร์ (Software) คือ  คำสั่ง หรือชุดคำสั่ง  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  และเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์)  สามารถสื่อสารกันได้  ทั้งนี้อาจแบ่งซอฟต์แวร์ตามหน้าที่ของการทำงานได้ดังนี้

          1. โปรแกรมจัดระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix




          2. โปรแกรม์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ

               - โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล เช่น  Microsoft  Access  Oracle
               - โปรแกรมพิมพ์เอกสาร  เช่น  Microsoft  Word
               - โปรแกรมสร้าง  Presentation  เช่น  Microsoft  Power  Point
               - โปรแกรมช่วยสอน  (CAI - Computer  Aids Intrruction )
               - โปรแกรมคำนวณ  เช่น  Microsoft  Excel

          3. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้เครื่องมืในการช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์มีความคล่องตัวขึ้น  และสามารถแก้ปัญหาอันเกิดจากการใช้งานได้ เช่น
                - โปรแกรมกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เช่น Mcafee, Scan, Norton Anitivirus
                - โปรแกรมที่ใช้บีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สามารถคัดลอกไปใช้ได้สะดวก เช่น Winzip เป็นต้น

          4. โปรแกรมแปลงภาษา (Language Translater) ใช้ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานด้านต่างๆ โดยการเขียนชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และใช้โปรแกรมแปลงภาษาดังกล่าวทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้น (High Level Language) ให้ไปเป็นคำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ (Low Level Language)
         โปรแกรมแปลงภาษาโดยทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
         4.1 คอมไพเลอร์ (Compiler) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นทั้งหมด (ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย) ในคราวเดียวกัน เช่น ภาษา Pascal, C, C++
         4.2 อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) โปรแกรมประเภทนี้จะทำหน้าที่แปลงชุดคำสั่ง แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมา ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขคำสั่งที่ผิดพลาดได้ทันที เช่น ภาษา Basic



     พีเพิลแวร์ (Peopleware) หรือผู้ใช้ระบบ  ในระบบคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นส่วนหนึ่งที่จะก่อใ้เกิดผลลัพธ์จากการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ด้วยเหตุที่ว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างชุดคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องนั่นเอง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในระดับต่างๆ ดังนี้

          1. ผู้บริหาร (Manager) ทำหน้าที่กำกับดูแลวางแนวนโยบายในส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้องค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           2. นักวิเคราะห์และนักออกแบบระบบ (System Analysis & Deign) ทำหน้าที่วางแผนและออกแบบระบบงาน เพื่อนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งาน
           3. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ทำหน้าที่เขียน/สร้างชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
           4. ผู้ปฏิบัติการ (Operator) ทำหน้าที่ควบคุมเครื่อง เตรียมข้อมูล และป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์






ความหมายและอธิบาย GPRS,3G และ GPS




       GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service เป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดอยู่แค่การใช้เสียง โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งสามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา ทำให้เราได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในฝ่ามือไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail





       3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า“ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง“บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บ อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ 

             ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
             ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
             ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที




      GPS หรือ Global Position System คือ ระบบค้นหาพิกัดตำแหน่งบนพื้นผิวโลกด้วยสัญญาณดาวเทียมได้รับการคิดค้นและ พัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้ในการกำหนดพิกัดตำแหน่งบนผิวโลก ทั้งบนผืนดิน อากาศ และทะเล ระบบ GPS ทำงานผ่านสัญญาณวิทยุที่ส่งมาจาก ดาวเทียมบนท้องฟ้าไปยังเครื่องรับสัญญาณบนพื้นดิน สัญญาณวิทยุที่รวบรวมจากดาวเทียมต่างๆ จะนำมาใช้ในการคำนวณระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณและดาวเทียมแต่ละดวง สำหรับเครื่องรับสัญญาณ GPS จะมีขนาดเล็กลงและมีราคาถูกลง ส่งผลให้สามารถนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้หลายรูปแบบ อาทิ ระบบบริหารการจัดการขนส่ง การควบคุมทุจริต การนำทาง การจัดระยะ การวัดระดับความสูง การชี้พิกัดของตัวผู้ใช้ และการรักษาความปลอดภัย คลื่นสัญญาณGPSจากดาวเทียมที่เราได้อนุญาติให้ใช้นี้ ฟรีครับไม่มีค่าบริการใดๆ หากจะใช้แค่นำทางหรือชีพิกัดตัวเราเองเสียแค่ค่าHardwareGPS และSoftwareแผนที่(มีSoftwareแผนที่บางค่ายฟรีด้วยซ้ำ)เท่านั้น ยกเว้นแต่หากจะใช้บริการTrackking หรือระบบรักษาความปรอดภัยหรือบริการอื่นๆซึ่งต้องมีอุปกรณ์และค่าบำรุงรักษา หรือค่าบริการอื่นขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเจ้านั้นๆอีกที

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศัพท์ IT



    Web page  หมายถึง  หน้าเอกสารของบริการ  www  ซึ่งตามปกติจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบไฟล์ html โดยไฟล์  html  1  ไฟล์ก็คือเว็บเพจ  1 หน้านั่นเอง



      Web Site หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ใน www ซึ่งเปรียบเหมือนหน้าร้านขายของทั่วไปนั่นเอง



ที่มารูปภาพ : http://www.ktpbook.com/main/Howto.asp

   Homepage  คือ เว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์  ปกติเว็บเพจทุกๆ หน้าในเว็บไซท์จะถูกลิงค์ (โดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม) มาจากโฮมเพจ ถ้าเปรียบกับร้านค้า โฮมเพจก็เป็นเสมือนหน้าร้านนั่นเอง  ดังนั้นจึงมักถูกออกแบบให้โดดเด่นและน่าสนใจมากที่สุด

การอัพโหลด-ดาวน์โหลดไฟล์

ที่มารูปภาพ : http://th.easyhostdomain.com/dedicated-servers/ftp.html

     Upload หมายถึง การส่งข้อมูลออกจากอุปกรณืของเรา? การส่งออกสามารถส่งออกแบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ รูปภาพ เสียง หรือแม้กระทั่งวีดีโอ ส่งออกไป โดยสามารถส่งออกได้ในช่องทางต่างๆ เช่น การส่งผ่านข้อความหรืออีเมล เป็นต้น

     Download หมายถึง การรับข้อมูลจากภายนอกเข้าสู่อุปกรณ์ภายในของเรา ไม่ว่าจะเป็นการ เปิดเข้าหน้าเว็บ การดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มของการดาวน์โหลดเช่นเดียวกัน 


ที่มารูปภาพ : http://www.charathbank.com/tag/browser/

     Browser หมายถึง เครื่องมื่อที่ช่วยให้สามารถท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้อย่างไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ Browser ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมเวปไซด์ต่างๆ ด้วย 
     Mbps หมายถึง หน่วยที่ใช้วัตอัตราความเร็วในการส่งหรือรับข้อมูลต่อ 1 วินาที เช่น การวัดความเร็วของอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

HTML history

ที่มารูปภาพ : http://www.codingbasic.com/html.html

    HTML คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน Hyperlink นั่นเอง

PHP Logo
ที่มารูปภาพ : http://www.thaicreate.com/php/php.html

   PHP คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ในลักษณะเซิร์ฟเวอร์-ไซด์ สคริปต์ โดยลิขสิทธิ์อยู่ในลักษณะโอเพนซอร์สภาษาพีเอชพีใช้สำหรับจัดทำเว็บไซต์ และแสดงผลออกมาในรูปแบบ HTML โดยมีรากฐานโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี ภาษาจาวา และ ภาษาเพิร์ล ซึ่ง ภาษาพีเอชพี นั้นง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่งเป้าหมายหลักของภาษานี้ คือให้นักพัฒนาเว็บไซต์สามารถเขียน เว็บเพจ ที่มีความตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว

ที่มารูปภาพ : http://lightspeed.in.th/

      ASP คือ โปรแกรมที่ทำงานบนเครื่อง Web server เรียกว่าเป็นการทำงานแบบ Server Side  พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ ประโยชน์ของ ASP ใช้สำหรับสร้างงาน(application)ขั้นสูง ในอินเตอร์เน็ต-อินทราเน็ต ช่วย เสริมการทำงานที่ไฟล์ HTML ธรรมดาทำไม่ได้ หรือต้องการให้งานต่างๆเป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยผู้ใช้ไม่ต้องทำการปรับปรุงข้อมูลเอง หรือเรียก DHTML (Dynamic HTML)  คือ เป็นเว็บเพจที่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะต่าง ๆ ได้นั่นเอง



ที่มารูปภาพ : http://www.blognone.com/news/

      HTML 5 มันคือ สเปกของภาษา HTML รุ่นที่ 5 ซึ่งต่อจาก HTML4 ที่เราใช้กันทุกวันนี้ โดยปัจจุบันสเปกยังร่างไม่เสร็จ (ดูได้จากเอกสารของ W3C) เนื้อหาจะครอบคลุมลักษณะ ฟีเจอร์ และ syntax ของ HTML เท่านั้น


    
Web Application คือ การสร้างการโปรแกรมการทำงานอัตโนมัติบนเว็บไซต์

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

            คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลให้ดูได้ง่าย เข้าถึงได้ง่าย ค้นหาได้ง่าย พัฒนาข้อมูลให้กลายเป็นสาระสนเทศ เช่น ทำกระดาษบัญชีรายรับรายจ่ายหาย อาจหาไม่เจอแต่ถ้ากรอกข้อมูลลงอินเตอร์เน็ตจะหาเจอ  เป็นต้น โดยมีประเภทของคอมพิวเตอร์เริ่มแบบแรกคือ Super Computer จากนั้นได้พัฒนาความสามารถของการทำงานเพื่อให้สะดวกสบายต่อผู้ใช้งานและมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเป็น Mainframe Computer จากนั้นเป็น Mini Computer จนสุดท้ายกลายมาเป็น Micro Computer คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ( PC ) ซึ่งโน๊ตบุ๊คก็เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทหนึ่งที่คนทั่วไปนิยมใช้ในปัจจุบัน

          เทคโนโลยีสาระสนเทศ (Information Technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ ตั้งแต่ รวบรวมข้อมูล ประมวลผลข้อมูล การแสดงผลของข้อมูล การทำสำเนาและการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมและสามารถนำไปเผยแพร่ได้


   ที่มารูปภาพ : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__2.html

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร




         เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย

ที่มา : http://blogcomsa403.wordpress.com/, http://pangchanidda8.blogspot.com/

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต




1.ค้นหว้าหาความรู้ทั่วไป
2.ค้นหาสื่อบันเทิงต่างๆ
3.ซื้อขายสินค้าผ่านเว็ปไซด์
4.ส่งจดหมาย
5.แลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น
6.ติดต่อสื่อสารแบบเห็นหน้าของทั้งสองฝ่าย
7.รับรู้ข่าวสารได้รวดเร็วมากขึ้น
8.เช็กสภาพอากาศ,ราคาทองคำ เป็นต้น
9.ใช้เล่นเกมส์ออนไลน์
10.ดึงข้อมูลภาพยนต์หรือซีรี่ย์มาดูได้

ที่มา : http://www.namonpit.ac.th/krutae/internet1/p1-2.htm